การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งความคืบหน้าการตรวจสอบรับรองความปลอดภัยและความพร้อมในการเปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง โดย วิศวกรอิสระ (ICE) ซึ่งขณะนี้ รฟม. ได้แจ้งให้ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (EBM) ผู้รับสัมปทาน เร่งดำเนินการปรับปรุงตามความเห็นของ ICE เพื่อให้ระบบความปลอดภัยทั้งหมด รวมถึงการซักซ้อมเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการให้สามารถจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินทุกรูปแบบตามคู่มือปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์มาตรฐานสากลโดยเร็วที่สุด จากนั้น รฟม. จึงจะอนุมัติให้ผู้รับสัมปทานเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง อย่างเต็มรูปแบบ (Full Operation) เชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้ รฟม. ขอยืนยันว่า การกำกับควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยในการให้บริการเดินรถไฟฟ้านั้น เป็นหัวใจสำคัญและความรับผิดชอบโดยตรงของ รฟม. ที่ไม่อาจละเลยได้
สำหรับข้อเสนอจากผู้รับสัมปทาน ที่จะให้ประชาชนร่วมทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Run) เพื่อสร้างการรับรู้ในการใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไปนั้น
หลังจากเมื่อวันที่(30 พฤษภาคม 2566) รฟม. ได้เชิญผู้รับสัมปทานมาร่วมหารือเป็นการเร่งด่วนในรายละเอียดต่างๆ เช่นระยะเวลาทดสอบ และช่วงสถานีที่จะพร้อมให้บริการ ฯลฯ พร้อมทั้งกำชับผู้รับสัมปทานจัดฝึกซ้อมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานทุกภาคส่วนให้มีความพร้อมในการให้บริการ สามารถให้คำแนะนำ และดูแลความปลอดภัยของประชาชนที่เข้าร่วม Trial Run ได้อย่างเต็มที่ โดยเมื่อมีข้อสรุปที่ชัดเจน รฟม. จะประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้ รับทราบโดยทันที
"มิ.ย.รู้ผล" ผู้ยื่นอุทธรณ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐภายใน 1 พฤษภาคม 66
BTS ปีงบ 65/66 กำไร 1,836 ล้านบาท ลด 52% จ่อปันผล 0.16 บาท คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง
สำหรับ โครงการขนส่งระบบรถไฟฟ้าสายสีเหลือง แบ่งเส้นทางโครงการออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่
ช่วงรัชดาลาดพร้าว–พัฒนาการ และช่วงพัฒนาการ–สำโรง อย่างไรก็ตามในการศึกษาออกแบบระบบในโครงการนี้เส้นทางทั้ง 2 ช่วงได้รวม เป็นเส้นทางเดียวกันตลอดทั้งสายทางและระบบที่ใช้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ช่วงรัชดา/ลาดพร้าว – พัฒนาการ
จุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงินระยะแรก) ที่แยกรัชดา-ลาดพร้าว ไปตามแนวถนนลาดพร้าว จนถึงทางแยกบางกะปิ จากนั้นแนวเส้นทางจะเบนไปทางทิศใต้ตามถนนศรีนครินทร์ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ที่ทางแยกลำสาลี สิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณทางแยกต่างระดับพระราม 9 โดยเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมต่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link) ระยะทางรวม 12.6 กม. มีจำนวนสถานีประมาณ 10 สถานี โดยประมาณ
ช่วงพัฒนาการ – สำโรง
จุดเริ่มต้นที่จุดเชื่อมต่อกับ Airport Rail Link บริเวณทางแยกพระราม 9 ไปตามแนวถนนศรีนครินทร์ ผ่านแยกพัฒนาการแยกศรีนุช แยกศรีอุดมสุข แยกศรีเอี่ยม จนถึงแยกศรีเทพา จากนั้นแนวเส้นทางจะเบนไปทางทิศตะวันตก ตามแนวถนนเทพารักษ์ ผ่านจุดเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ที่สถานีสำโรง และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณแนวถนนปู่เจ้าสมิงพราย ระยะทางรวม 17.8 กม. มีจำนวนสถานีประมาณ 13 สถานี โดยประมาณ
ส่วนราคาค่าบริการหากมีการทดสอบระบบเสร็จเรียบร้อย จะอยู่ที่เริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท โดยปรับตามอัตราเงินเฟ้อเดือน มี.ค.2566