เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา ( 16 พ.ค.) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษในรายการ Quest Means Business ของสถานีโทรทัศน์ CNN เกี่ยวกับความท้าทายในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่และการขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของเขา โดยมีเซน แอชเชอร์ เป็นผู้ดำเนินรายการ
โดยในขณะนี้ถึงแม้พรรคเพื่อไทยจะสามารถรวบรวมเสียงจากพรรคฝ่ายค้านเดิมได้ถึง 310 เสียง เพียงพอในการจัดตั้งรัฐบาล แต่การจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต้องได้เสียงสนับสนุน 367 เสียง
เลือกตั้ง 2566 : "ก้าวไกล" เปิดโต๊ะเจรจา 5 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล
เลือกตั้ง 2566 : เส้นทางวิบาก! “พิธา” ลุ้นนั่งเก้าอี้ นายกฯ คนที่ 30
ซึ่งหมายความว่า พรรคก้าวไกลต้องได้รับการสนับสนุนหรือเสียงโหวตจาก ส.ว. หรือ ส.ส. จากพรรคที่ถูกเชิญเข้าร่วมรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวได้ถามนายพิธาว่า มั่นใจเพียงใดที่จะได้รับเสียงโหวตจาก ส.ว. ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คสชคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ในช่วงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
นายพิธา ตอบว่า เขาและพรรคก้าวไกลได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์หรือสิ่งที่จะเกิดขึ้นไว้ทุกทาง และได้มีการกำหนดแนวทางพร้อมหาทางออกสำหรับทุกสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นไว้แล้ว
และเมื่อถูกถามว่า พรรคก้าวไกลวางแนวทางในการฝ่าด่านของ ส.ว. 250 เสียงไว้อย่างไร เพราะที่ผ่านมา บรรดาส.ว. มีท่าทีที่ชัดเจนว่าชื่นชอบแคนดิแดตนายกรัฐมนตรีที่มาจากทหารมากกว่า
นายพิธาได้ตอบคำถามนี้ว่า สิ่งนี้อาจเป็นจริงเมื่อ 4 ปีที่แล้ว แต่วันนี้ความเป็นเอกภาพของ ส.ว. แตกต่างไป หลายคนได้แสดงจุดยืนที่ต่างไปจากเดิม และการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ชี้ชัดว่า ความคิดเห็นของประชาชนจำนวนมากได้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นแม้ ส.ว.จะได้รับการแต่งตั้งจากทหารแต่ผลโหวตก็อาจไม่เหมือนกับในอดีตอีกต่อไป
โดยเขาระบุว่าหากมีการเดินหน้าสื่อสารและอธิบายอย่างต่อเนื่องถึงความตั้งใจในการทำให้ประเทศดีขึ้นกว่านี้ ส.ว.หลายคนก็อาจเปิดใจรับฟัง และที่สำคัญคือราคาที่ต้องจ่ายหากมีการหากมีการฝืนเสียงของประชาชนกว่า 25 ล้านคนเป็นราคาที่สูงมาก
อีกหนึ่งคำถามที่ถูกถามคือ พรรคก้าวไกลและนายพิธา คิดอย่างไรหากทหารตัดสินใจล้มล้างผลการเลือกตั้งครั้งนี้ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ตอบคำถามนี้ว่า พรรคจำเป็นต้องลดความเสี่ยงของการล้มล้างผลการเลือกตั้งโดยทหารให้น้อยที่สุด โดยทีมงานของพรรคกำลังทำงานอย่างเต็มที่เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าวและหวังว่าจะสื่อสารกับประชนในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
ในช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ ผู้สื่อข่าวของ CNN ได้ถามนายพิธาว่า กลัวหรือไม่ว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย โดยได้ย้อนไปถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2019 ที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นอันดับที่ 3 แต่หลังจากนั้นไม่นานก็ถูกยุบพรรค และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคก็ถูกตัดสิทธิทางการเมือง 10 ปี
นายพิธา ตอบว่า เขาไม่กังวล แต่ก็ไม่ได้ประมาทเช่นเดียวกัน เขาอยู่ในแวดวงทางการเมืองมากว่า 20 ปี โดยเริ่มจากตำแหน่งที่ไม่สูงมากจนมาถึงทุกวันนี้ และได้เห็นความโหดเหี้ยมของการเมืองที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย ดังนั้นพรรคก้าวไกลได้พยายามเรียนรู้จากอดีต และทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับพรรคอีกครั้ง โดยทางพรรคมีทีมกฎหมายที่แข็งแกร่งและมีแนวปฏิบัติที่รัดกุมเพื่อให้แน่ใจว่าพรรคจะไม่ตกเป็นเป้าของการถูกยุบอีกครั้ง
ในช่วงสุดท้ายของการตอบคำถาม นายพิธา ระบุด้วยว่า ลำดับความสำคัญของพรรคก้าวไกลที่ต้องผลักดันเมื่อได้เป็นรัฐบาลคือ การเอาทหารออกจากการเมือง (Demitilalise) การทลายทุนผูกขาด (Demonopolise) และการกระจายอำนาจอย่างทั่วถึง (Decentralise)
โดยทั้ง 3 สิ่งนี้คือสิ่งที่จะสร้างประชาธิปไตยเต็มใบให้กับไทย และเป็นสิ่งที่จะพาประเทศไทยผงาดบนเวทีโลกและได้ประโยชน์จากโลกาภิวัฒน์
ไม่เพียงแต่สื่อตะวันตกเท่านั้นที่ให้ความสนใจหัวหน้าพรรคก้าวไกล สำนักข่าวในเอเชียอย่าง News1 Korea สื่อเกาหลีที่ได้ทำรายงานพิเศษถึงนายพิธา โดยพาดหัวว่า “พิธาที่หน้าตาดีระดับไอดอลคือใคร”
ในรายงานดังกล่าวได้เล่าถึงชัยชนะของพรรคก้าวไกล ที่นายพิธาเป็นหัวหน้าพรรค ระบุว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้นายพิธาและพรรคได้ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ พร้อมเล่าถึงประวัติการศึกษาของนายพิธาว่า จบจากมหาวิทยาลัย MIT และ Harvard