ในงาน “Sustainability Expo 2022 ครั้งที่ 3” มหกรรมการแสดงสินค้าด้านความยั่งยืน กลุ่มมิตรผลหนึ่งในบริษัทที่เข้าร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนทัศนคติบนเวทีเสวนา เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การขับเคลื่อนโครงการในหัวข้อ “Way to Carbon Neutrality-Suphanburi Carbon Neutrality Model” โครงการที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาของอุตสาหกรรมการทำน้ำตาลอ้อยที่ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละออง PM2.5
ธนพงศ์ อุดมศิลป์ ผู้อำนวยการด้านโรงงานน้ำตาลมิตรผลด่านช้าง บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าวว่า จังหวัดสุพรรณบุรีมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกราวปีละ 3 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่า จึงมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 10 หรือประมาณ 3 แสนตันภายในปี ค.ศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2023 อุทยานมิตรผลด่านช้างซึ่งอยู่ในพื้นที่จึงได้เข้าร่วมกับทางจังหวัดรวมถึงชุมชนในพื้นที่และกรมป่าไม้ โดยมี 6 แนวทางในการดำเนินงาน ได้แก่ พลังงานสะอาด, BCG Model, Green Cane, การจัดการน้ำและขยะจากอุตสาหกรรม, การปลูกป่า และการชดเชยคาร์บอน ซึ่งมีการดำเนินงานควบคู่กันไปเพื่อไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2023
“เรามีการนำพลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในพื้นที่ของอุทยานมิตรผลด่านช้าง ขณะเดียวก็ลดการเผาอ้อยลงด้วยการส่งเสริมให้เกษตรตัดอ้อยสด พร้อมกับรับซื้อใบอ้อยโดยให้ราคาตันละ 1,000 บาท ตั้งเป้าไว้ที่ 190,000 ตันในปีนี้ โดยจะนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าชีวมวล แต่เดิมไร่อ้อยในสุพรรณบุรีมีการเผาถึงร้อยละ 70-80 แต่ปัจจุบันเหลืออยู่ราวร้อยละ 10 แต่เราก็ยังต้องการลดให้มากกว่านี้ให้ได้ที่ร้อยละ 95 ให้การเผาเหลือให้น้อยกว่าร้อยละ 5 ให้ได้ นอกจากนี้ยังลดการใช้สารเคมีในกระบวนการปลูกลงด้วย”
ในด้านการจัดการน้ำเสียจากโรงงานมีการเปลี่ยนระบบบำบัดน้ำเสียจากเดิมที่เป็นบ่อ Pre-Treatment ที่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนระหว่างกระบวนการตาก มาเป็นแบบ Activated Sludge ที่จะเร่งการตกตะกอน ในส่วนของน้ำเสียนั้นสามารถรียูสกลับมาใช้ได้ 100% ช่วยลดการสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือเกษตรด้วยการจัดสรรน้ำครึ่งหนึ่งเพื่อให้ใช้ในการไร่ โดยมีการจัดทำระบบชลประทานแบบท่อเพื่อลดการระเหยของน้ำ รวมทั้งมีการจัดทำแผงโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำเพื่อช่วยลดการระเหยของน้ำในบ่ออีกทางหนึ่งด้วย ในส่วนของเศษดินและวัสดุธรรมชาติที่จะมาพร้อมกับอ้อยนั้นมีการนำไปทำเป็นดินสำหรับปลูกพืช มีทั้งส่วนที่บรรจุถุงจำหน่ายและคืนกลับให้กับเกษตรกรที่นำผลผลิตมาขายด้วยเพื่อนำไปใช้บำรุงดินในไร่
สำหรับการปลูกป่านั้นได้ร่วมกับ อบต. และกรมป่าไม้ ดำเนินการปลูกป่าในพื้นที่ของโรงงาน สนับสนุนให้ชาวไร่ปลูกป่าที่หัวและท้ายไร่ รวมทั้งปลูกป่าในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และป่าสงวน โดยตั้งเป้าให้ได้ 15,000 ไร่ ภายใน 10 ปี ซึ่งปีแรกปลูกไปแล้ว 1,500 ไร่
“การดำเนินการทั้ง 5 ส่วนท่ำทอยู่นั้น ทำให้เราสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 192,000 ตันต่อคาร์บอนเทียบเท่า แต่ยังเหลืออีก 84,000 ตันต่อคาร์บอนเทียบเท่าที่จะเป็นส่วนของการชดเชยคาร์บอนเครดิต ซึ่งทางอุทยานมิตรผลด่านช้างได้มีแนวทางดำเนินงานเพื่อชดเชยในส่วนนี้ ทั้งการเปลี่ยนระบบบำบัดน้ำเสีย การบริหารจัดการเรื่องการแยกขยะโดยเฉพาะขยะเปียก การเปลี่ยนรถที่ใช้ฝนการขนส่งเป็นไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมัน โซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งในบ่อน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว ปรับปรุงกระบวนการปลูกเพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทน และการปลูกป่าดูแลแหล่งน้ำ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนที่มาชดเชยคาร์บอนเครดิตได้ นอกจากนี้ในอนาคตกลุ่มมิตรผลยังมีแนวทางที่จะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้เป็นแบบย่อยสลายได้ด้วย”
โครงการ “สุพรรณบุรี Carbon Neutrality Model” เป็นโครงการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับจังหวัดสุพรรณบุรี และกลุ่มมิตรผล ดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนจังหวัดสุพรรณบุรีไปสู่เมืองคาร์บอนต่ำ มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2030
มาร่วมสร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า ในงานมหกรรมการแสดงสินค้าด้านความยั่งยืน SX 2022 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 เข้าฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.sustainabilityexpo.comคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง