อย่างที่หลายคนได้เห็นว่า ประเทศไทยขณะนี้กำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพอากาศรุนแรง ทั้งอากาศที่ร้อนตับแตกค่าไฟพุ่ง และวิกฤตฝุ่น PM2.5 ที่หลายจังหวัดของไทยยังคงรั้งตำแหน่งสูงสุดของโลกแทบจะทุกวัน แต่ในขณะเดียวกัน หลายประเทศทั่วโลกเองก็กำลังเผชิญกับสถานการณการณ์สภาพอากาศที่รุนแรงไม่แพ้ไทย
ที่ประเทศอินเดีย กำลังเผชิญกับคลื่นความร้อนในรัฐเบงกอลตะวันตก รัฐพิหาร และรัฐอานธรประเทศ ทำให้ภูมิภาคดังกล่าวต้องเจอกับอุณหภูมิที่สูงกว่า 40 องศาเซลเซียสติดต่อกันหลายวัน ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยตามฤดูกาลประมาณ 5 องศาเซลเซียส
คลื่นความร้อนดังกล่าวในอินเดียคาดว่าจะดำเนินต่อไปตลอดสัปดาห์ที่จะถึงนี้ ความร้อนที่มากเกินไปในอินเดีย เกี่ยวพันกับการไหลของอากาศซึ่งทำให้อากาศแห้งกว่าปกติมาก ทางการแนะนำให้ประชาชนระมัดระวังเรื่องสุขภาพ โดยดื่มน้ำให้เพียงพอ สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และหลีกเลี่ยงอาหารข้างทาง ซึ่งอาจเสียได้ง่ายในสภาวะเช่นนี้ บางรัฐยังสั่งปิดโรงเรียนและมหาวิทยาลัยเป็นเวลา 1 สัปดาห์จากอากาศที่ร้อนนี้ด้วย
อากาศที่ร้อนยังทำให้มีคนถึง 13 คนเสียชีวิตจากอาการฮีตสโตรก ขณะเข้าร่วมงานพิธีมอบรางวัลมหาราษฏระภูชาน ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับพลเรือนที่มอบให้โดยรัฐบาลในเมืองนาวีมุมไบ รัฐมหาราษฏระ และป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลอีกกว่า 60 คน โดยในงานมีประชาชนกว่า 1 ล้านคนเข้าร่วม
จะเห็นว่า สถานการณ์ที่หลายรัฐของอินเดียขณะนี้แทบไม่ต่างจากไทย และอีกหลาย ๆ พื้นที่ทั่วโลกเลย
เฝ้าระวัง “อากาศร้อนจัด” พบ 17 จังหวัดอุณหภูมิทะลุ 40 องศา
“มนุษย์ทนร้อนได้แค่ไหนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง?” คำถามสำคัญเมื่ออากาศเมืองไทยร้อนเหลือเกิน
เมื่อ “หิมะ” ถูกแทนที่ด้วย “กระบองเพชร” โลกร้อนกระทบสวิสหนัก
ข้อมูลจากสำนักงานอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ระบุว่า เดือนมีนาคม 2023 ที่ผ่านมา เป็นเดือนมีนาคมที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 2 เท่าที่เคยมีการบันทึกข้อมูลไว้ และเป็นเดือนมีนาคมที่ระดับน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติต่ำที่สุดเป็นอันดับ 2 เช่นกัน
ทั้งนี้ สถานการณ์อุณหภูมิร้อนกว่าค่าเฉลี่ยนี้ เกิดครอบคลุมภูมิภาคแอฟริกาเหนือ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซีย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ อาร์เจนตินาและประเทศเพื่อนบ้าน พื้นที่ส่วนใหญ่ของออสเตรเลีย ชายฝั่งแอนตาร์กติกา และแน่นอน พื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชียด้วย ทำให้หลายพื้นที่วัดอุณหภูมิได้สูงเป็นประวัติการณ์
นอกจากนี้ ยังมีบางพื้นที่ที่ประสบกับสภาพอากาศแห้งแล้งกว่าปกติในช่วงเดือนมีนาคม 2023 ที่ผ่านมา จนเกิดเป็นภัยแล้ง หรือบางพื้นที่ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่า เช่น บางส่วนของยุโรปกลาง ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของแอฟริกา และบางส่วนของเอเชีย
ในขณะเดียวกัน ที่ประเทศจีน กำลังเผชิญกับพายุทราย ที่พัดถล่มพื้นที่บางส่วนของประเทศเป็นเวลาต่อเนื่องหลายสัปดาห์ และมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในเอเชีย ทรายและฝุ่นส่วนใหญ่เหล่านี้มาจากทะเลทรายโกบี ซึ่งอยู่ในบริเวณพรมแดนระหว่างมองโกเลียกับจีน
เซี่ยงไฮ้ได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยความเข้มข้นของอนุภาค PM10 สูงถึง 46 เท่าของระดับความปลอดภัยที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ส่งผลให้มีการเตือนภัยด้านคุณภาพอากาศ ทัศนวิสัยลดลง และอาคารบ้านเรือนรวมถึงรถราจำนวนมากเหมือนถูกเคลือบด้วยฝุ่นทราย
เกาหลีใต้และญี่ปุ่นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน กรุงโซลได้บันทึกระดับ PM10 มากกว่าเกณฑ์ที่รัฐบาลถือว่า “ไม่ดีต่อสุขภาพ” มากกว่า 2 เท่า ขณะเดียวกัน ก็เริ่มมีการตั้งคำถามว่า สถานการณืฝุ่นที่ภาคเหนือของไทย เกิดจากอิทธิพลของพายุทรายจากจีนด้วยหรือไม่
พายุทรายกลายเป็นเหตุการณ์ปกติมากขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา โดยปัจจัยหลักมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและปริมาณน้ำฝนที่ลดลงในทะเลทรายโกบี
ข้ามไปที่อีกซึกโลก สหรัฐฯ เผชิญกับพายุในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงมีรายงานลูกเห็บขนาดใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วในหลายพื้นที่ของรัฐมิสซูรี ควบคู่ไปกับลมแรงที่พัดกระโชกแรงถึง 97 ไมล์ต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายให้กับต้นไม้ โรงนา และบ้านเรือน
WMO ระบุว่า ในเดือนมีนาคม 2023 มีฝนตกชุกกว่าค่าเฉลี่ยในหลายพื้นที่ของสหรัฐฯ หลายภูมิภาคของเอเชีย นิวซีแลนด์ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ส่วนหนึ่งของแอฟริกาตอนใต้ และบราซิล ในหลายพื้นที่ฝนตกหนักจนทำให้เกิดน้ำท่วม
จุดหนึ่งที่ต้องเน้นย้ำและเราทุกคนควรตระหนักคือ สถานการณืสภาพอากาศที่เข้าขั้นวิกฟตในหลายพื้นที่ทั่วโลกขณะนี้ เป็นมากกว่า “แค่สัญญาณเตือน” แล้ว แต่มันคือผลลัพธ์ คือความจริง คือผลของการกระทำที่กำลังย้อนกลับคืนมาหาเรา เหล่ามนุษย์ผู้ทำลายล้างโลกด้วยน้ำมือของพวกเราเอง
เรียบเรียงจาก The Guardian / World Meteorological Organization
ภาพจาก AFP