นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่ง ในงาน Meet & Greet “Thailand Moving Together กอด กิน บิน เที่ยว ใช้ชีวิตใกล้ชิดอีกครั้ง” ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี ว่า กระทรวงคมนาคมได้เตรียมความพร้อมภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายในทุกมิติของการเดินทาง ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมการเปิดประเทศ ซึ่งสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมการบินของไทยจะกลับสู่ภาวะปกติในปี 67 และผู้โดยสารจะเติบโตถึง 200 ล้านคนต่อปี ในปี 74 โดยอุตสาหกรรมการบินของไทยจะเติบโตเป็นอันดับ 9 ของโลก
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ปัจจุบันท่าอากาศยานเกือบทุกแห่งพร้อมแล้วในการรองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเตรียม Slot รองรับเที่ยวบินที่จะเพิ่มขึ้น เตรียมระบบ Self Check-in ที่ท่าอากาศยาน เพื่อลดการสัมผัสตามมาตรการสาธารณสุข รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการผู้โดยสาร และลดแถวคอย Check-in ตลอดจนเตรียมความพร้อมตรวจคนเข้าเมืองที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) นอกจากนี้ยังกำชับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ให้ลงพื้นที่ตรวจสอบรถโดยสารสาธารณะและรถแท็กซี่ โดยเฉพาะในพื้นที่ท่าอากาศยาน และสถานีขนส่งผู้โดยสารให้พร้อมในการให้บริการผู้โดยสาร ส่วนการเดินรถโดยสารประจำทางเส้นทางระหว่างประเทศ บขส. เปิดเดินรถระหว่างประเทศไทย-สปป.ลาว 9 เส้นทางแล้ว เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.ที่ผ่านมาคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า และ 2. การเตรียมความพร้อมโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งแต่ละโครงการคืบหน้าค่อนข้างมาก ขณะที่หลายโครงการเป็นการลงทุนต่อเนื่อง ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ นอกจากนี้กระทรวงคมนาคมยังมีแผนลงทุนในอนาคต เพื่อขับเคลื่อนพัฒนางานคมนาคมครอบคลุมในทุกมิติ ซึ่งสรุปการดำเนินงานที่ผ่านมาได้ดังนี้ มิติการเดินทางทางราง ปัจจุบันเปิดให้บริการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และชานเมืองแล้ว 7 สี 11 เส้นทาง รวมระยะทาง 212 กิโลเมตร (กม.) อยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 4 สี 4 เส้นทาง รวมระยะทาง 114 กม. ได้แก่ 1.สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน ก.ค.66
2.สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน เม.ย.66, 3.สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี คาดว่าจะเปิดให้บริการเดือน ธ.ค.68 และ 4.แอร์พอร์ต เรลลิงก์ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง ตามแผนจะเปิดให้บริการเดือน ม.ค.71 ส่วนการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ได้เร่งรัดการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 ให้แล้วเสร็จ และเริ่มงานการก่อสร้างทางรถไฟสายใหม่ รวมทั้งเสนอขออนุมัติโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทาง ระยะทาง 1,483 กม. จะทำให้ประเทศไทยจะมีเส้นทางรถไฟทางคู่มากกว่า 3,200 กม. ทั่วประเทศ นอกจากนี้กำลังเร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 เส้นทาง ได้แก่ 1.โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา, 2. ช่วงที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย และ 3. รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า มิติการเดินทางทางถนน ประกอบด้วย 1.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6), 2. มอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) จะเร่งรัดงานทั้ง 2 โครงการให้แล้วเสร็จในปี 65 และเริ่มหาเอกชนร่วมลงทุนพัฒนาและบริหารที่พักริมทาง เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้บางส่วนในปี 66, มิติการเดินทางทางน้ำ พัฒนา 2 ท่าเรือ ประกอบด้วย 1.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F เมื่อพัฒนาแล้วจะเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือแหลมฉบังจาก 11 ล้านตู้ต่อปี เป็น 18 ล้านตู้ต่อปี คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จปี 68 และ 2.โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการถมทะเล โดยจะเพิ่มขีดความสามารถท่าเรือจาก 16 ล้านตันต่อปี เป็น 31 ล้านตันต่อปี คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 69คำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น
นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า มิติการเดินทางทางอากาศ มี 2 โครงการ ประกอบด้วย 1. การพัฒนา ทสภ. ระยะที่ 2 ก่อสร้างอาคาร SAT-1 เพื่อให้สามารถรองรับผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 60 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการ และ 2.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารจากปัจจุบัน 3 ล้านคนต่อปี ให้ได้ 15.9 ล้านคนต่อปี ในปี 67 ช่วยรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่อีอีซี ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมยังได้เตรียมพร้อมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมของประเทศสำหรับอนาคตด้วย ประกอบด้วย 1.โครงการ MR-MAP เป็นการพัฒนาแนวโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองคู่ขนานไปกับโครงข่ายรถไฟทางคู่ 10 เส้นทาง 2.โครงการ Landbridge ชุมพร-ระนอง และ 3.การจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ.